วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การทำประโยคปฏิเสธ - คำถาม
ถ้าประโยคใดไม่มีคำกริยา is, am, are, was, were, have, has, had, will, would, shall, should, can, could, may, might, must, ought to, used to ให้ใช้ do, does, did มาช่วยเสมอ
ประธานพหูพจน์ (ยกเว้น I, You) ตามด้วยกริยาช่อง 1 ใช้ do not, don’t
ประธานเอกพจน์ตามด้วยกริยาช่อง 1 เติม s, es ใช้ does not, doesn’t
Subject + V.2 ให้นำ didn’t มาใช้แทน V.2 (Past) ในประโยคแล้วเปลี่ยน V.2 เป็น V.1 = didn’t + V.1 เสมอ ต้องจำไว้เสมอว่ากริยาตามหลัง doesn’t และ didn’t ต้องเป็นกริยาช่อง 1 เท่านั้นจะไม่มีรูปเติม s, es หรือ รูปช่อง 2 ใดๆ เช่น
I know.                                 I don’t know.                                     Do I know?
He knows.                            He doesn’t know.                               Does he know?
They go.                               They don’t go.                                   Do they go?
She goes.                              She doesn’t go.                                  Does she go?
You like.                              You don’t like.                                   Do you like?
Mongkol likes.                    Mongkol doesn’t like.                         Does Mongkol like?
I went.                                   I didn’t go.                                        Did I go?
We came.                             We didn’t come.                                Did we come?
He wrote.                             He didn’t write.                                  Did he write?
She bought.                         She didn’t buy.                                   Did she buy?
You sat.                               You didn’t sit.                                    Did you sit?
It bit.                                    It didn’t bite.                                       Did it bite?
I spoke.                                I didn’t speak.                                     Did I speak?       
They played.                       They didn’t play.                               Did they play?

สังเกตได้ชัดว่า กริยาหลัง don’t, doesn’t, didn’t เป็นกริยาช่อง 1 (Infinitive) เท่านั้น และในคำถามเราใช้ Do, Does, Did วางไว้หน้าและกริยาที่ตามเป็นกริยาช่อง 1 คือ กริยาที่ไม่เติมและไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ 

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

พูดแค่ up to you จริง ๆ แล้วไม่เวิร์ค!

          ติดปากคนไทยมาเนิ่นนานกับการพูดว่า UP TO YOU , บางคนนี่หนักหน่อย พูดว่า up to you na. (บอกแล้วใช่มั้ยว่า พยายามอย่าพิมพ์ไทยใส่ไปด้วย ในช่วงฝึกภาษาใหม่ ๆ มันทำให้สับสน สมองคุณไม่แยกแยะ!) ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ส่วนมากจะต้องระบุ ประธาน กริยา กรรม ให้ครบ เกือบทุกครั้ง โดยเฉพาะประธาน โดยมากเค้าไม่เว้นไว้เหมือนภาษาไทย ที่ชอบพูดกันแบบละประธานไว้ในฐานที่เข้าใจ

          โอเค It’s up to you. ความหมายก็คือ “ก็แล้วแต่คุณ” , “ขึ้นอยู่กับแกเลย” อะไรประมาณนี้ แต่การพูด up to you โดยไม่มี It’s นำหน้า ผมว่าไม่ถูกสักเท่าไหร่ ถ้าให้แปลเป็นไทยก็ประมาณว่า “แต่คุณ” , “กับแก” ไรเงี๊ย เข้าใจป้ะ มันไม่ครบ จึงอยากจะฝากเพื่อน ๆ ให้พูด It’s up to you นะจ้ะ

           หลายคนเถียง แต่นู๋/ผม เคยได้ยินฝรั่งพูด up to you เฉย ๆ นะคะ? จริงอยู่เป็นไปได้แต่น้อยมาก หรือบางครั้งหูคุณนั่นแหละ เพี้ยนเองครับ อาจจะฟัง It’s… ไม่ทันด้วยซ้ำ คำที่เข้าหูคุณเลยได้ยินเพียง up to you. แล้วทึกทักเอาเองมากกว่า (หนอยแน่ะ เนียน!)

           เสริม : ภาษาอังกฤษบางทีการที่เราพูด It’s แทน It is ในเชิงความหมายมันก็แอบแตกต่างนิดหน่อยเหมือนกันนะ ดูที่ผมแปลเอาละกัน
  It’s up to you. (ก็แล้วแต่คุณนะ)
  It is up to you. (มันก็แล้วแต่คุณนะ)

พอเข้าใจอ้ะยัง (understand it better people?)


Source : Up to you

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัทอักษรสากล


สัทอักษรสากล 
             International Phonetic Alphabet: IPA คือ สัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมันสัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไทย

File:IPA chart 2005.png

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การสร้างประโยคคำถามด้วย VERB TO BE

การสร้างประโยคคำถามด้วย Verb to be


       หลายคนอาจสงสัยว่า ถ้าเราอยากแต่งประโยคที่ใช้ Verb to be เป็นประโยคคำถามจะต้องทำยังไง ไม่มีอะไรยากเลย แค่ใช้ Verb to be [is, am, are] นี่แหละนำไปขึ้นต้นในประโยคบอกเล่าเท่านั้นเอง 
เช่น

Is Jasmine in the garden?
(จัสมินอยู่ในสวนใช่ไหมค่ะ)

Yes, she is. Please make yourself at home.
(ใช่แล้วจ๊ะตามสบายนะจ๊ะ)

*ข้อสังเกต 
        หากเป็นคำถามที่ขึ้นต้นด้วย verb to be จะเป็นคำถามประเภทที่จะต้องตอบด้วยคำว่า Yes หรือ No